เพลง ก.เอ๋ย ก.ไก่

วิดีโอนิทานเรื่อง เด็กเลี้ยงแกะ

วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การสอนภาษาแบบองค์รวม (Whole Language Approach)‏

การสอนภาษาแบบองค์รวม

ความหมายการสอนภาษาแบบองค์รวม (Whole Language Approach) หมายถึง การสอนภาษาที่เป็นไปตามธรรมชาติ เน้นสื่อที่มีความหมาย ผู้เรียนสามารถใช้ประสบการณ์เดิมช่วยทำให้เข้าใจสื่อที่อ่านได้รวดเร็วขึ้น การสอนจะไม่แยกสอนส่วนย่อยของภาษาทีละส่วนแต่เน้นให้เข้าใจในภาพรวมก่อน แล้วจึงเรียนรู้ด้านโครงสร้างภาษาภายหลัง ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์ภาษาของตนเองอย่างอิสระ ผู้สอนต้องยอมรับความแตกต่างด้านการออกเสียงที่เป็นสำเนียงภาษาถิ่น(dialects) ในเบื้องต้น แล้วจึงพัฒนาให้ถูกต้องในโอกาสต่อไป การสอนภาษาแบบองค์รวมจะเน้นการนำรวมวรรณกรรมต่าง ๆ ที่ดีมาเป็นสื่อการสอน เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ภาษาที่หลากหลาย สามารถนำไปเป็นแบบอย่างการใช้ภาษาของตนเองและใช้ได้ในสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนภาษาแบบองค์รวมจึงเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและยึดหลักการประชาธิปไตยในชั้นเรียน

หลักการสอนภาษาแบบองค์รวม
กูดแมน (1996) ได้เสนอแนะหลักการของการสอนภาษาแบบองค์รวมได้ดังนี้
1. หลักการสอนอ่านและเขียนภาษาแบบองค์รวม
1.1. ผู้อ่านจะต้องเก็บข้อมูลและทำความเข้าใจความหมายของข้อความที่อ่านในระหว่างการอ่านโดยใช้ความรู้และประสบการณ์เดิมของตนเข้าช่วยเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น มีงานวิจัยด้านการอ่านมากมายที่สนับสนุนแนวคิดที่ว่า ผู้อ่านที่มีประสบการณ์ หรือความรู้เดิมในสาขานั้น ๆ จะสามารถอ่านได้ดีและเข้าใจเร็วกว่าผู้ไม่มีประสบการณ์
1.2. ในระหว่างการอ่าน ผู้อ่านจะต้องใช้กลวิธีในการอ่าน ที่จะช่วยให้เข้าใจข้อความที่อ่านได้หรือที่เรียกว่า กระบวนการอ่าน ซึ่งจะเกิดขึ้นกับผู้อ่านได้หรือที่เรียกว่า กระบวนการอ่าน ซึ่งจะเกิดขึ้นกับผู้อ่านทุกคนในขณะที่อ่านเป็นขั้นตอน อันประกอบด้วยการตั้งสมมติฐานหรือการคาดการณ์ล่วงหน้า การเลือกสรรความหมายของคำหรือข้อความ และสนับสนุนความหมายที่ถูกต้อง แต่หากเกิดความผิดพลาดก็สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ด้วยตนเอง ทุกขั้นตอนดังกล่าวจะเกิดขึ้นในขณะที่อ่านตลอดเวลา ทั้งผู้ที่มีความสามารถในการอ่านระดับสูงหรือผู้ที่เริ่มเรียนการอ่าน
1.3. ด้านการเขียน แนวการสอนภาษาแบบองค์รวม จะเน้นให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างการอ่านและการเขียน ซึ่งจะเกิดขึ้นต่อเนื่องกันตลอดเวลาผู้อ่านมากจะมีข้อมูลในการเขียนมาก ดังนั้นในการเขียนควรฝึกให้ผู้เขียนมีข้อมูลหรือรายละเอียดที่เหมาะสมเพียงพอ สามารถผลิตงานเขียนที่มีผู้อ่านเกิดความเข้าใจ สามารถรับสารของผู้เขียนได้
1.4. การเขียนต้องคำนึงถึงระบบของภาษาซึ่งประกอบด้วยตัวสัญลักษณ์และเสียง (grapho phonic system) หลักเกณฑ์ไวยากรณ์ (syntactic system) และการสื่อความหมาย (semantic system) ทั้งสามระบบต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างถูกต้องในการเขียน จึงจะทำให้ผู้อ่านสามารถตีความหมายและเข้าใจข้อความนั้นอย่างถูกต้อง
1.5. จุดมุ่งหมายหลักของการอ่านคือ ความหมายและความเข้าใจในบทความที่อ่าน (comprehend sion of meaning) ส่วนจุดมุ่งหมายในการเขียน คือ สื่อความหมายให้ผู้อ่านเข้าใจตามจุดประสงค์ของผู้เขียน (expression of meaning)
2. หลักการจัดการเรียนการสอนภาษาแบบองค์รวม
2.1. ส่งเสริมการอ่านภายในโรงเรียน จัดหาหนังสือหรืออุปกรณ์ส่งเสริมการอ่านต่าง ๆ ที่มีความหมายส่งเสริมประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มพูนความรู้ ความเพลิดเพลิน โดยจัดให้ หลากหลายสาขาและมีแบบแผนการเขียนที่แตกต่างกัน เป็นแบบอย่างการใช้ภาษา
2.2. ส่งเสริมให้รักการอ่าน โดยจัดเตรียมหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ ให้ตอบสนอง ความต้องการของผู้เรียนและสังคม จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะแก่การอ่าน มีหนังสือมากมายหลายประเภทให้เลือกซึ่งเป็นการจูงใจให้ผู้เรียนอยากอ่านเองเพื่อความสนุกสนานและพอใจ มิใช่การบังคับให้อ่าน การอ่านด้วยความพอใจและการอ่านโดยการบังคับให้ผลต่อการพัฒนาการอ่านต่างกัน
2.3. ในการเรียนการสอนทั้งผู้สอนและผู้เรียนจะต้องมีจุดประสงค์ย่อยในส่วนของตนเองที่ต่างกัน ผู้สอนจะต้องเน้นการพัฒนาการใช้ภาษาของผู้เรียนในการอ่านการเขียน ส่วนผู้เรียนจะเน้นการนำภาษาไปใช้ในการอ่านและการเขียนเพื่อสื่อความหมายตามที่ต้องการ ผู้สอนควรพยายามให้ผู้เรียนมีความกล้าในการใช้ภาษารูปแบบใหม่ ๆ ที่หลากหลายโดยไม่กลัวความผิดและพร้อมที่จะแก้ไขได้เสมอซึ่งจะทำให้ผู้เรียนพัฒนาการเรียนรู้ได้รวดเร็วกว่าผู้ที่ไม่กล้าใช้ภาษา เมื่อใช้ได้ถูกต้องผู้เรียนจะมีความมั่นใจและมีพลังการใช้ภาษา ได้อย่างดี
2.4. ผู้สอนต้องเน้นให้ผู้เรียนรู้จักใช้กระบวนการอ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความชำนาย ประกอบกับความรู้เดิมพื้นฐาน จะทำให้สามารถพัฒนาการอ่านได้อย่างรวดเร็ว
รูปแบบเรียนรู้ ภาษาแบบเดิม รูปแบบเรียนรู้ ภาษาตามธรรมชาติ
• เน้นการสอนโดยตรงจากครู ซึ่งถูกควบคุมโดยหลักสูตรโปรแกรมการสอนที่กำกับอยู่
• มีพฤติกรรมที่เป็นต้นแบบของการเรียนรู้ (สกินเนอร์)
• การเรียนรู้เป็นแนวทางที่ต้องเริ่มต้นจากง่ายไปหายากและซับซ้อน จากทักษะย่อยไปสู่ทักษะใหญ่ขึ้น
• การเรียนพูด - เขียน ให้ถูกต้อง เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องสร้างนิสัย ดังนั้นหากพูดหรือเขียนผิด ต้องแก้ไขให้ถูกต้อง ถือว่าคำผิดเป็นสิ่งร้ายแรง
• เมื่อถือว่าความถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญดังนั้นการปล่อยให้เด็กทดลอง กล้าทำอะไรนอกรูปแบบ จึงเป็นสิ่งไม่พึงประสงค์
• ผู้เรียนทุกคนต้องเรียนและทำสิ่งที่ครูสอนให้ได้ เหตุนี้เองเด็กจำนวนมากจึงต้องประสบกับความล้มเหลวอยู่เสมอ
• ความสามารถในการทำงานให้ถูกต้องทั้งการเขียนจะใช้เป็นหลักฐานเครื่องวัดผลคะแนนการเรียนรู้
• เน้นการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งได้รับการแนะนำช่วยเหลือ โดยครู แต่ไม่ใช่ถูกควบคุม แต่ครูเป็นผู้เรียนรู้ร่วมกันไปพร้อมกับเด็ก
• การเรียนรู้ด้านสติปัญญาจะเป็นรูปแบบ ควบคู่ไปกับด้านสังคม (ไวกอตสกี และ ฮอลลิเดย์)
• ทุกสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ มองว่าเป็นการเรียนรู้ ที่อยู่ภายใต้องค์รวมที่มีความหมายต่อเด็กทั้งหมด ที่เด็กซึมซับประสบการณ์ไว้
• การเรียนรู้ถูกมองว่าเป็นผลของกระบวนการทางสติปัญญาที่น่าจะได้รับการช่วยเหลือ สนับสนุนจากครูและเพื่อน ๆ ร่วมกัน
• การกล้าทดลอง กล้าเสี่ยงซึ่งอาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้นบ้าง ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญสูงสุดต่อการเรียนรู้ของเด็กเพื่อสร้างกำลังใจและความมั่นใจ
• ผู้เรียนแต่ละคนถูกมองว่ามีความแตกต่างกันในการเรียนรู้และมีระดับการพัฒนาได้ไม่เท่ากัน แต่ละคนมีวิถีทางของตนเอง ดังนั้น จึงไม่มีคำว่า “ล้มเหลว” เกิดขึ้น
• ความสามารถที่จะเข้าใจและประยุกต์นำความรู้ไปใช้ และสามารถคิดได้อย่างผู้รู้ จะใช้เป็นรากฐานการเรียนรู้ เช่นเดียวกับความสามรถในการใช้วิธีการต่าง ๆ ในการทำงานในสถานการณ์ต่าง ๆ


อ้างอิง : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=monsawan&month=11-08-2007&group=6&gblog=1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น