เทคนิคการสอนภาษา
การสอนภาษาสำหรับเด็ก ไม่ใช่เพียงการสอนเฉพาะทักษะการอ่านและการเขียนเท่านั้นแต่ต้องรวมถึงทักษะการฟัง การพูดด้วย
แนวคิดพื้นฐานของการสอนภาษา
1. ครูจะต้องทราบว่าเด็กเรียนรู้อย่างไร
2. ประสบการณ์ทางภาษาของเด็กเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
3. เชื่อว่าเด็กทุกคนสามารถเรียนรู้ได้
4. เด็กจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดถ้าเราสอนแบบ Whole Language คือ
4.1 สอนอย่างเป็นธรรมชาติ
4.2 สอนอย่างมีความหมายต่อเด็ก
4.3 สอนให้เด็กสามารถนำคำที่สอนไปใช้ได้
4.4 เนื้อหาที่จะสอนต้องอยู่ในชีวิตประจำวันที่เด็กใช้ได้
5. เด็กจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดถ้ามาจากการตัดสินใจของเด็กเอง
6. ให้เด็กรู้สึกว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมในห้องเรียนนั้นๆ
7. ไม่ให้เด็กรู้สึกว่ากำลังแข่งขัน
8. ครูต้องสอนทักษะไปพร้อมๆกันและเกี่ยวข้องกัน
9. ทำให้การเรียนภาษาของเด็กเป็นสิ่งที่น่าสนใจและสนุกสนาน
ควรสอนภาษาเด็กอย่างไร
1. เริ่มจากสิ่งที่เด็กรู้แล้วและอยู่ในความสนใจของเด็ก
2. ให้ความเคารพและยอมรับในภาษาที่เด็กใช้
3. การประเมินโดยการสังเกต
4. ใช้วิธีการประเมินที่เหมาะสม
5. เสนอความคิดต่อผู้ปกครอง
6. ส่งเสริมให้เด็กเรียนอย่างกระตือรือร้น
7. สร้างความรู้สึกประสบความสำเร็จและให้กำลังใจ
8. ให้เด็กอ่านสิ่งที่เด็กคุ้นเคย
9. อ่านให้เด็กฟังจากแหล่งต่างๆ
10. จัดประสบการณ์การอ่านและส่งเสริมให้เด็กลงมือกระทำ
11. ส่งเสริมให้เด็กรู้จักกล้าลองผิดลองถูก
12. พัฒนาทางด้านจิตพิสัยและพัฒนาให้เด็กมีความรักในภาษา
ข้อควรปฏิบัติในการสอนภาษา
1. ควรสอนในสภาพที่เป็นธรรมชาติที่สุด
2. ควรสอนโดนไม่มีการแบ่งแยกกลุ่มเด็กเก่งเด็กอ่อน
3. การที่เด็กเกิดมาพร้อมกับความสนใจอยากรู้อยากเห็น จะเป็นแรงกระตุ้นให้สามารถจำคำต่างๆได้
วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552
การสอนภาษาแบบองค์รวม (Whole Language Approach)
การสอนภาษาแบบองค์รวม
ความหมายการสอนภาษาแบบองค์รวม (Whole Language Approach) หมายถึง การสอนภาษาที่เป็นไปตามธรรมชาติ เน้นสื่อที่มีความหมาย ผู้เรียนสามารถใช้ประสบการณ์เดิมช่วยทำให้เข้าใจสื่อที่อ่านได้รวดเร็วขึ้น การสอนจะไม่แยกสอนส่วนย่อยของภาษาทีละส่วนแต่เน้นให้เข้าใจในภาพรวมก่อน แล้วจึงเรียนรู้ด้านโครงสร้างภาษาภายหลัง ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์ภาษาของตนเองอย่างอิสระ ผู้สอนต้องยอมรับความแตกต่างด้านการออกเสียงที่เป็นสำเนียงภาษาถิ่น(dialects) ในเบื้องต้น แล้วจึงพัฒนาให้ถูกต้องในโอกาสต่อไป การสอนภาษาแบบองค์รวมจะเน้นการนำรวมวรรณกรรมต่าง ๆ ที่ดีมาเป็นสื่อการสอน เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ภาษาที่หลากหลาย สามารถนำไปเป็นแบบอย่างการใช้ภาษาของตนเองและใช้ได้ในสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนภาษาแบบองค์รวมจึงเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและยึดหลักการประชาธิปไตยในชั้นเรียน
หลักการสอนภาษาแบบองค์รวม
กูดแมน (1996) ได้เสนอแนะหลักการของการสอนภาษาแบบองค์รวมได้ดังนี้
1. หลักการสอนอ่านและเขียนภาษาแบบองค์รวม
1.1. ผู้อ่านจะต้องเก็บข้อมูลและทำความเข้าใจความหมายของข้อความที่อ่านในระหว่างการอ่านโดยใช้ความรู้และประสบการณ์เดิมของตนเข้าช่วยเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น มีงานวิจัยด้านการอ่านมากมายที่สนับสนุนแนวคิดที่ว่า ผู้อ่านที่มีประสบการณ์ หรือความรู้เดิมในสาขานั้น ๆ จะสามารถอ่านได้ดีและเข้าใจเร็วกว่าผู้ไม่มีประสบการณ์
1.2. ในระหว่างการอ่าน ผู้อ่านจะต้องใช้กลวิธีในการอ่าน ที่จะช่วยให้เข้าใจข้อความที่อ่านได้หรือที่เรียกว่า กระบวนการอ่าน ซึ่งจะเกิดขึ้นกับผู้อ่านได้หรือที่เรียกว่า กระบวนการอ่าน ซึ่งจะเกิดขึ้นกับผู้อ่านทุกคนในขณะที่อ่านเป็นขั้นตอน อันประกอบด้วยการตั้งสมมติฐานหรือการคาดการณ์ล่วงหน้า การเลือกสรรความหมายของคำหรือข้อความ และสนับสนุนความหมายที่ถูกต้อง แต่หากเกิดความผิดพลาดก็สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ด้วยตนเอง ทุกขั้นตอนดังกล่าวจะเกิดขึ้นในขณะที่อ่านตลอดเวลา ทั้งผู้ที่มีความสามารถในการอ่านระดับสูงหรือผู้ที่เริ่มเรียนการอ่าน
1.3. ด้านการเขียน แนวการสอนภาษาแบบองค์รวม จะเน้นให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างการอ่านและการเขียน ซึ่งจะเกิดขึ้นต่อเนื่องกันตลอดเวลาผู้อ่านมากจะมีข้อมูลในการเขียนมาก ดังนั้นในการเขียนควรฝึกให้ผู้เขียนมีข้อมูลหรือรายละเอียดที่เหมาะสมเพียงพอ สามารถผลิตงานเขียนที่มีผู้อ่านเกิดความเข้าใจ สามารถรับสารของผู้เขียนได้
1.4. การเขียนต้องคำนึงถึงระบบของภาษาซึ่งประกอบด้วยตัวสัญลักษณ์และเสียง (grapho phonic system) หลักเกณฑ์ไวยากรณ์ (syntactic system) และการสื่อความหมาย (semantic system) ทั้งสามระบบต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างถูกต้องในการเขียน จึงจะทำให้ผู้อ่านสามารถตีความหมายและเข้าใจข้อความนั้นอย่างถูกต้อง
1.5. จุดมุ่งหมายหลักของการอ่านคือ ความหมายและความเข้าใจในบทความที่อ่าน (comprehend sion of meaning) ส่วนจุดมุ่งหมายในการเขียน คือ สื่อความหมายให้ผู้อ่านเข้าใจตามจุดประสงค์ของผู้เขียน (expression of meaning)
2. หลักการจัดการเรียนการสอนภาษาแบบองค์รวม
2.1. ส่งเสริมการอ่านภายในโรงเรียน จัดหาหนังสือหรืออุปกรณ์ส่งเสริมการอ่านต่าง ๆ ที่มีความหมายส่งเสริมประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มพูนความรู้ ความเพลิดเพลิน โดยจัดให้ หลากหลายสาขาและมีแบบแผนการเขียนที่แตกต่างกัน เป็นแบบอย่างการใช้ภาษา
2.2. ส่งเสริมให้รักการอ่าน โดยจัดเตรียมหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ ให้ตอบสนอง ความต้องการของผู้เรียนและสังคม จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะแก่การอ่าน มีหนังสือมากมายหลายประเภทให้เลือกซึ่งเป็นการจูงใจให้ผู้เรียนอยากอ่านเองเพื่อความสนุกสนานและพอใจ มิใช่การบังคับให้อ่าน การอ่านด้วยความพอใจและการอ่านโดยการบังคับให้ผลต่อการพัฒนาการอ่านต่างกัน
2.3. ในการเรียนการสอนทั้งผู้สอนและผู้เรียนจะต้องมีจุดประสงค์ย่อยในส่วนของตนเองที่ต่างกัน ผู้สอนจะต้องเน้นการพัฒนาการใช้ภาษาของผู้เรียนในการอ่านการเขียน ส่วนผู้เรียนจะเน้นการนำภาษาไปใช้ในการอ่านและการเขียนเพื่อสื่อความหมายตามที่ต้องการ ผู้สอนควรพยายามให้ผู้เรียนมีความกล้าในการใช้ภาษารูปแบบใหม่ ๆ ที่หลากหลายโดยไม่กลัวความผิดและพร้อมที่จะแก้ไขได้เสมอซึ่งจะทำให้ผู้เรียนพัฒนาการเรียนรู้ได้รวดเร็วกว่าผู้ที่ไม่กล้าใช้ภาษา เมื่อใช้ได้ถูกต้องผู้เรียนจะมีความมั่นใจและมีพลังการใช้ภาษา ได้อย่างดี
2.4. ผู้สอนต้องเน้นให้ผู้เรียนรู้จักใช้กระบวนการอ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความชำนาย ประกอบกับความรู้เดิมพื้นฐาน จะทำให้สามารถพัฒนาการอ่านได้อย่างรวดเร็ว
รูปแบบเรียนรู้ ภาษาแบบเดิม รูปแบบเรียนรู้ ภาษาตามธรรมชาติ
• เน้นการสอนโดยตรงจากครู ซึ่งถูกควบคุมโดยหลักสูตรโปรแกรมการสอนที่กำกับอยู่
• มีพฤติกรรมที่เป็นต้นแบบของการเรียนรู้ (สกินเนอร์)
• การเรียนรู้เป็นแนวทางที่ต้องเริ่มต้นจากง่ายไปหายากและซับซ้อน จากทักษะย่อยไปสู่ทักษะใหญ่ขึ้น
• การเรียนพูด - เขียน ให้ถูกต้อง เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องสร้างนิสัย ดังนั้นหากพูดหรือเขียนผิด ต้องแก้ไขให้ถูกต้อง ถือว่าคำผิดเป็นสิ่งร้ายแรง
• เมื่อถือว่าความถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญดังนั้นการปล่อยให้เด็กทดลอง กล้าทำอะไรนอกรูปแบบ จึงเป็นสิ่งไม่พึงประสงค์
• ผู้เรียนทุกคนต้องเรียนและทำสิ่งที่ครูสอนให้ได้ เหตุนี้เองเด็กจำนวนมากจึงต้องประสบกับความล้มเหลวอยู่เสมอ
• ความสามารถในการทำงานให้ถูกต้องทั้งการเขียนจะใช้เป็นหลักฐานเครื่องวัดผลคะแนนการเรียนรู้
• เน้นการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งได้รับการแนะนำช่วยเหลือ โดยครู แต่ไม่ใช่ถูกควบคุม แต่ครูเป็นผู้เรียนรู้ร่วมกันไปพร้อมกับเด็ก
• การเรียนรู้ด้านสติปัญญาจะเป็นรูปแบบ ควบคู่ไปกับด้านสังคม (ไวกอตสกี และ ฮอลลิเดย์)
• ทุกสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ มองว่าเป็นการเรียนรู้ ที่อยู่ภายใต้องค์รวมที่มีความหมายต่อเด็กทั้งหมด ที่เด็กซึมซับประสบการณ์ไว้
• การเรียนรู้ถูกมองว่าเป็นผลของกระบวนการทางสติปัญญาที่น่าจะได้รับการช่วยเหลือ สนับสนุนจากครูและเพื่อน ๆ ร่วมกัน
• การกล้าทดลอง กล้าเสี่ยงซึ่งอาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้นบ้าง ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญสูงสุดต่อการเรียนรู้ของเด็กเพื่อสร้างกำลังใจและความมั่นใจ
• ผู้เรียนแต่ละคนถูกมองว่ามีความแตกต่างกันในการเรียนรู้และมีระดับการพัฒนาได้ไม่เท่ากัน แต่ละคนมีวิถีทางของตนเอง ดังนั้น จึงไม่มีคำว่า “ล้มเหลว” เกิดขึ้น
• ความสามารถที่จะเข้าใจและประยุกต์นำความรู้ไปใช้ และสามารถคิดได้อย่างผู้รู้ จะใช้เป็นรากฐานการเรียนรู้ เช่นเดียวกับความสามรถในการใช้วิธีการต่าง ๆ ในการทำงานในสถานการณ์ต่าง ๆ
อ้างอิง : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=monsawan&month=11-08-2007&group=6&gblog=1
อ้างอิง : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=monsawan&month=11-08-2007&group=6&gblog=1
วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
เรียนครั้งที่ 1
1. ความหมายของวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ควรจัดให้สอดคล้องกับลำดับขั้นพัฒนาการของเด็ก เพื่อให้เด็กได้มีการพัฒนาไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน และมีประสิทธิภาพ ครูผู้สอนควรมีการจัดการสอนให้เด็กได้มีการพัฒนาการใช้ภาษาในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง สามารถสื่อความหมายได้ตรงตามความต้องการ
การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ควรจัดให้สอดคล้องกับลำดับขั้นพัฒนาการของเด็ก เพื่อให้เด็กได้มีการพัฒนาไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน และมีประสิทธิภาพ ครูผู้สอนควรมีการจัดการสอนให้เด็กได้มีการพัฒนาการใช้ภาษาในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง สามารถสื่อความหมายได้ตรงตามความต้องการ
2. สภาพบรรยากาศในห้องเรียน
ควรจัดสภาพให้ดูเป็นธรรมชาติ ไม่ให้เด็กรู้สึกกลัวที่จะเรียนรู้ เด็กต้องมีความสุขที่ได้เรียน ควรมีการจัดกิจกรรมอย่างหลากหลาย ให้เด็กได้เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์และสนุกสนาน เช่น การจัดให้มีการแสดงบทบาทสมมติ
3. การจัดประสบการณ์เป็นการดำเนินงานตามขั้นตอน ตามแบบแผนที่วางไว้ โดยคำนึงถึงลำดับพัฒนาการของเด็กในแต่ละวัย ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยมีพฤติกรรมการแสดงออกของเด็กแต่ละคนเป็นตัววัดความแตกต่าง
ของผลที่ได้รับ
การจากเปรียบเทียบนิยามข้อที่ 1 กับ ข้อที่ 3 มีความสอดคล้องคล้ายคลึงกันในเรื่องของการคำนึงถึงขั้นพัฒนาการของเด็ก
ควรจัดสภาพให้ดูเป็นธรรมชาติ ไม่ให้เด็กรู้สึกกลัวที่จะเรียนรู้ เด็กต้องมีความสุขที่ได้เรียน ควรมีการจัดกิจกรรมอย่างหลากหลาย ให้เด็กได้เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์และสนุกสนาน เช่น การจัดให้มีการแสดงบทบาทสมมติ
3. การจัดประสบการณ์เป็นการดำเนินงานตามขั้นตอน ตามแบบแผนที่วางไว้ โดยคำนึงถึงลำดับพัฒนาการของเด็กในแต่ละวัย ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยมีพฤติกรรมการแสดงออกของเด็กแต่ละคนเป็นตัววัดความแตกต่าง
ของผลที่ได้รับ
การจากเปรียบเทียบนิยามข้อที่ 1 กับ ข้อที่ 3 มีความสอดคล้องคล้ายคลึงกันในเรื่องของการคำนึงถึงขั้นพัฒนาการของเด็ก
การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย เป็นการดำเนินการตามขั้นตอนแบบแผนที่วางไว้ โดยคำนึงถึงพัฒนาการของเด็กในแต่ละวัย ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการช่วยสื่อความหมาย โดยมีพฤติกรรมการแสดงออกของเด็กแต่ละคนที่มีความแตกต่างกันเป็นตัวชี้วัด
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)